วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

12 ธันวาคม 2555 วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


- คู่มือกรอบมาตรฐาน  เป็นแนวทางการนำไปใช้หรือเป็นวิธีการที่อธิบายให้รู้แนวทางหรือสิ่งที่บ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือที่เป็นที่ยอมรับเพื่อเป็นแนวทางการนำไปใช้หรือวิธีการที่อธิบายถึงเนื้อหาต่างๆ

- เครื่องมือในการเรียนรู้  คือ  ภาษา + คณิตศาสตร์

1. จำนวนและการดำเนินการ

          การแสดงจำนวน = เขียน  พูด  หยิบตัวเลขมาวาง  เส้นจำนวน

          ในชีวิตจริง = กินข้าวกี่จาน  นั่งรถเมล์สายอะไร

2. การวัด

          การหาค่าเครื่องมือ  ความยาว  เงิน  เวลา

3. พีชคณิต

          เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์   การทำตามแบบ

4. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าเชื่อถือ

          การวิเคราะห์หน่วย สิ่งที่อยู่รอบตัวเราแล้วนำเสนอ

5. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

       - การแก้ปัญหา

       - การให้เหตุผล

       - การสื่อสาร

       - การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์

       - การนำเสนอ

       - การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์

       - เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ

 

 

         

6 ธันวาคม 2555 วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ให้นักศึกษาเอากล่องที่ตัวเองเตรียม แล้วให้ดูว่ากล่องที่เตรียมมาเป็นรูปทรงอะไร

หลักการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้

     -การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือกระทำ

    -เด็กจะคิดเล่นตามอิสระ

    -ถ้าเด็กทำไม่ได้ต้องช่วยเหลือสนับสนุน

  กล่องทำอะไรได้บ้าง

   1.นับ

   2.จับคู่  กล่องที่มีขนาดเท่ากัน

   3.เอาตัวเลขกำกับค่า

   4.วัดขนาดกล่อง

   5.เปรียบเทียบ

   6.เรียงลำดับ

   7.นำเสนอ (ข้อมูล)

   8.จัดประเภท   ต้องมีเกณฑ์ กล่องที่มีของกินได้ กับ กล่องที่มีของกินไม่ได้

   9.เนื้อที่   โดยนำดินน้ำมันมาวางใส่ในกล่องว่าได้กี่ก้อน

  10.เศษส่วน      ถามเด็กว่าเอากล่องมาทั้งหมดกี่กล่อง   กล่องที่ใส่ของมีทั้งหมดกี่กล่อง

  11.ปริมาณค่าคงที่    โดยการย้ายตำแหน่งให้เด็ก

  12.การทำตามแบบ

  อาจารย์ให้เด็กจับกลุ่ม  กลุ่มละ 10 คน

       ให้คนที่ 1 วางกล่องแล้วคนต่อไปนำกล่องมาวางตรงไหนก็ได้ให้เป็นรูปต่างๆโดยแล้วแต่ผู้วางจะวางตรงไหน
    
       กลุุ่มที่ 1  ปิโตรเลียมไทย      

      กลุ่มที่  2  รถแทรกเตอร์ 2013

       กลุ่มที่  3   หุ่นยนตร์โลโบ้

       กลุ่มที่  4   หนอน

 

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

29 พฤศจิกายน 2555 วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


วันนี้อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน ในหัวข้อขอบข่ายของคณิตศาสตร์ หน้าชั้นเรียนพร้อมกับรับกระดาษคนละ 1แผ่นเขียนความรู้สึกที่เรียนในวันนี้

หน่วย  สัตว์

1. การนับ = นับสัตว์ในสวนสัตว์

2. ตัวเลข  = เป็นตัวกำกับตัวเลขจากมาไปหาน้อย  ( ตัวเลข  -> แทนค่าจำนวน )

3. จับคู่     = ตัวเลขกับตัวเลข และรูปทรง

4. จัดประเภท = แยกประเภทของสัตว์ คือ สัตว์บก และ  สัตว์น้ำ

5. การเปรียบเทียบ =  สัตว์บก กับสัตว์น้ำ สัตว์ชนิดใดมากกว่า หรือน้อยกว่ากัน

6. การจัดลำดับ =  หาค่า, จับคู่ 1 : 1(ถ้าเด็กยังไม่มีประสบการณ์ด้านตัวเลขาก็พอ) ,นำมาเรียงลำดับ

7. รูปทรง และพื้นที่ = ไม่จำเป็นต้องจัด "ลำตัว" ของสัตว์ เสมอไป สามารถจัดเป็น ขนาดของกรงสัตว์ หรือ กำหนดรูปทรงแล้วถามว่า ... รูปทรงขนาดนี้สัตว์จะอยู่ในกรงได้ประมาณกี่ตัว ?

8. การวัด = วัดอาหารที่สัตว์กินในแต่ละวัน,วัดพื้นที่ที่สัตว์อยู่

9. เซต = การจัดตู้ปลา อุปกรณ์มีอะไรบ้าง ?

10. เศษส่วน = (สอนพื้นฐานให้กับเด็ก) การแบ่งนกในกรงในจำนวนที่เท่ากัน >> เน้นให้เด็กแบ่งครึ่ง ...

11. การทำความแบบ = สร้างแบบ และทำความแบบ

12. การอนุรักษ์ = ดินน้ำมัน (รูปร่างเปลี่ยนแปลงไป แต่ปริมาณเท่าเดิม) ,ทราย (เอาทรายใส่ขวดแล้วเอาแม่พิมพ์มาทำให้รูปร่างต่างกัน)

    

22 พฤศจิกายน 2555 วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


       วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ  1ใบ  ให้วาดรูปแทนสัญลักษณ์ตัวเองพร้อมเขียนชื่อตัวเอง
จากนั้นคนที่มาเรียนก่อนเวลา 08.30 ให้นำผลงานของเราไปแปะไว้บนกระดาน

       จากนั้นเรียนรู้เกี่ยวกับขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
อ้างอิงจาก  นิตยา  ประพฤติกิจ . 2541:17-19


 
 

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยประกอบด้วย( นิตยา ประพฤติกิจ . 2541. 17-19)
1. การนับ

2. ตัวเลข

3. การจับคู่

4. การจัดประเภท

5. การเปรียบเทียบ

6. การจัดลำดับ

7. รูปทรงและเนื้อที่

8. การวัด

9. เซต

10. เศษส่วน

11. การทำตามแบบหรือลวดลาย

12. การอนุรักษ์หรือคงที่ด้านปริมาณ

(เยาวภา เดชะคุปต์ 2542: 87-88) ได้เสนอแนวการสอนคณิตศาสตร์

1. การจัดกลุ่มหรือเซต

2. จำนวน 1-10 การฝึกนับ1-10 จำนวนคู่ จำนวนคี่

3. ระบบจำนวน และชื่อของตัวเลข123.......

4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต

5. คุณสมบัติของคณิตจากการรวมกลุ่ม

6. ลำดับที่ สำคัญ และประโยชน์ของคณิต

7. การวัด

8. รูปทรงเรขาคณิต

9. สถิติและกราฟ

จุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์

(นิตยา ประพฤติกิจ. 2541: 1719) กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้

1.เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การ บวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ

2.เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น เมื่อเด็กบอกว่า หน่องหนักกว่า ปุ้ยแต่บางคนบอกว่า ปุ้ยหนักกว่า หน่องเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง จะต้องมีการชั่ง น้ำหนักและบันทึกน้ำหนัก

3.เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักและเข้าใจคำศัพท์และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น

4.เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่ การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ เป็นต้น

5.เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

6.เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง